วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

สโมสรฟุตบอล บาร์เซโลนา



Fc barcelona.png



ประวัติ

จุดกำเนิดของสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา (1899–1922)

       เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1899 ฮันส์ กัมเปร์ ได้ลงประกาศโฆษณาใน โลสเดปอร์เตส ว่ามีความต้องการที่จะก่อตั้งสโมสรฟุตบอล โดยได้รับการตอบรับอย่างดีในการนัดพบกันที่คิมนาเซียวโซเล เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน โดยมีผู้เล่น 11 คนมาร่วมได้แก่ วอลเตอร์ ไวลด์ (ผู้บริหารคนแรกของสโมสร), ลุยส์ ดีออสโซ, บาร์โตเมว เตร์ราดัส, ออตโต กุนเซิล, ออตโต แมเยอร์, เอนริก ดูกัล, เปเร กาบอต, กาเลส ปูคอล, ชูเซป โยเบต, จอห์น พาร์สันส์ และ วิลเลียม พาร์สัน ทำให้ ฟุตบอลคลับบาร์เซโลนา ก็ถือกำเนิดขึ้นมา

      สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประสบความสำเร็จในช่วงแรกกับการแข่งขันถ้วยท้องถิ่นและระดับชาติ ได้ลงแข่งในกัมเปียวนัตเดกาตาลุนยาและถ้วยโกปาเดลเรย์ ในปี ค.ศ. 1902 สโมสรชนะถ้วยแรกในถ้วยโกปามากายา และร่วมลงแข่งในโกปาเดลเรย์ครั้งแรก แต่แพ้ 1–2 ให้กับบิซกายา ในนัดชิงชนะเลิศ[4] กัมเปร์ได้เป็นประธานสโมสรในปี ค.ศ. 1908 แต่สโมสรมีปัญหาด้านการเงินเนื่องจากไม่สามารถชนะการแข่งขันได้ตั้งแต่กัม เปียนัตเดกาตาลัน ในปี ค.ศ. 1905 เขาเป็นประธานสโมสรใน 5 วาระในระหว่างปี ค.ศ. 1908 ถึง 1925 รวม 25 ปี ที่เขาดำรงตำแหน่งประธานสโมสร หนึ่งในความสำเร็จคือการทำให้สโมสรมีสนามกีฬาของตัวเอง ทำให้มีรายได้ที่มั่นคง

      เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1909 สโมสรได้ย้ายไปสนามกัมเดลาอินดุสเตรีย ที่มีที่นั่งจุ 8,000 คน จากปี ค.ศ. 1910 ถึง 1914 บาร์เซโลนาได้ร่วมลงแข่งในถ้วยพิเรนีส ที่ประกอบด้วยทีมที่ดีที่สุดของ ล็องด็อก, มีดี, อากีแตน (ฝรั่งเศสใต้), บาสก์ และ กาตาลุญญา ในเวลานั้นถือเป็นการแข่งขันที่ดีที่สุดที่เปิดให้เข้าแข่งขัน ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น สโมสรได้เปลี่ยนภาษาอย่างเป็นทางการของสโมสรจากภาษาคาสติเลียนสเปน (Castilian Spanish) เป็นภาษาคาตาลัน และค่อย ๆ เพิ่มความสำคัญให้กับสัญลักษณ์ที่สำคัญของอัตลักษณ์คาตาลัน เพื่อให้แฟนที่สนับสนุนสโมสรแต่ไม่รู้ว่าจะทำอะไรระหว่างการแข่งขันและเพื่อ ให้เป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์กลุ่มของสโมสร

      กัมเปร์ได้รณรงค์หาสมาชิกสโมสรเพิ่ม และในปี ค.ศ. 1922 สโมสรมีสมาชิกมากกว่า 20,000 คนและมีฐานะการเงินเพียงพอที่จะสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่ สโมสรได้ย้ายไปเลสกอตส์ โดยเปิดสนามใหม่ในปีเดียวกันนี้[9] เดิมทีเลสกอตส์จุผู้ชมได้ 22,000 คน และต่อมาขยายเพิ่มเป็น 60,000 คน[10] แจ็ก กรีนเวลล์ เป็นผู้จัดการเต็มเวลาคนแรกของสโมสรและสโมสรได้เริ่มต้นพัฒนา ในช่วงระหว่างยุคของกัมเปร์ สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาชนะถ้วยกัมเปียนัตเดกาตาลัน 11 ครั้ง ถ้วยโกปาเดลเรย์ 6 ครั้ง และถ้วยพิเรนีส 4 ครั้ง ถือเป็นยุคทองยุคแรกของสโมสร




 


      สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา (คาตาลัน: Futbol Club Barcelona) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า บาร์เซโลนา หรือคุ้นเคยในอีกชื่อว่า บาร์ซา (คาตาลัน: Barça) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพสเปน ตั้งอยู่ที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน เล่นอยู่ในลาลีกา

     สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาเป็นผู้ชนะเลิศในถ้วยยุโรปและสเปนปัจจุบัน เป็นสโมสรสเปนที่ประสบความสำเร็จในฟุตบอลสเปน ในแง่ของจำนวนถ้วยรางวัลภายในประเทศและทุกถ้วย โดยชนะในการแข่งลาลีกา 22 ครั้ง ชนะในโกปาเดลเรย์ 25 ครั้ง ชนะในซูเปร์โกปาเดเอสปาญา 10 ครั้ง ชนะในโกปาเอบาดัวร์เต 3 ครั้ง และได้รางวัล โกปาเดลาลีกา 2 ถ้วย นอกจากนี้ยังเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จที่สุดในยุโรป โดยได้ชนะเลิศในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 4 ครั้ง, ชนะในยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ 4 ครั้ง ชนะในยูฟ่าซูเปอร์คัพ 4 ครั้ง และชนะฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ 1 ครั้ง พวกเขายังถือสถิติชนะในอินเตอร์-ซิตีส์แฟร์สคัป 3 ครั้ง ถ้วยต้นแบบของยูฟ่าคัพ



      นอกจากนั้นยังเป็นสโมสรยุโรปสโมสรเดียวที่แข่งในฟุตบอลระหว่างทวีปในทุก ฤดูกาลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1955 และเป็น 1 ใน 3 สโมสรที่ไม่เคยตกชั้นในลาลีกา ร่วมกับทีมแอทเลติกบิลบาโอและเรอัลมาดริด ในปี ค.ศ. 2009 เป็นสโมสรสเปนสโมสรแรกที่ได้ถือครองแชมป์ 3 รางวัล คือ ลาลีกา, โกปาเดลเรย์ และแชมเปียนส์ลีก และในปีเดียวกันนี้ยังเป็นสโมสรฟุตบอลสโมสรแรกที่ชนะในการแข่งขัน 6 รางวัลในปีเดียวกัน เพิ่มอีก 3 ถ้วยคือ ซูเปร์โกปาเดเอสปาญา, ยูฟ่าซูเปอร์คัพ และฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ
ก่อตั้งในชื่อ ฟุตบอลคลับบาร์เซโลนา ใน ค.ศ. 1899 โดยกลุ่มของนักฟุตบอลสวิส อังกฤษ และ สเปน นำโดย ชูอัง กัมเปร์ สโมสรถือเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมคาตาลันและนิยมคาตาลัน โดยมีคำขวัญทางการว่า "Més que un club" (แปลว่า มากกว่าสโมสร) ส่วนเพลงประจำสโมสรคือเพลง "กันเดลบาร์ซา" เขียนโดย เคาเม ปีกัส และ ชูเซบ มารีอา เอสปีนัส และที่แตกต่างจากสโมสรอื่นคือ ผู้สนับสนุนทีมเป็นเจ้าของและบริหารทีมบาร์เซโลนา ถือเป็นสโมสรฟุตบอลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกเป็นอันดับ 2 ในด้านของรายได้ ที่มีรายได้ประจำปี 398 ล้านยูโร[2] สโมสรยังเป็นคู่ปรับอันยาวนานกับเรอัลมาดริดและนัดการแข่งขันระหว่างสองทีมนี้เรียกว่า "เอลกลาซีโก"

ผู้สนับสนุน

      ฉายาของผู้สนับสนุนบาร์เซโลนา คือ culer มาจากภาษาคาตาลันคำว่า cul (อังกฤษ: arse; ก้น) โดยในสนามกีฬาแห่งแรก กัมเดลาอินดุสเตรีย มีเขียนคำว่า culs ไปทั่วที่นั่ง ด้านความนิยมในประเทศสเปน ความนิยมในทีมบาเซโลนาอยู่ที่ 25% เป็นรองทีมเรอัลมาดริดซึ่งมี 32% ส่วนอันดับ 3 คือทีมบาเลนเซีย และในยุโรปถือเป็นสโมสรที่เป็นที่ชื่นชอบอันดับ 2  จำนวนสมาชิกของสโมสรเพิ่มขึ้นจาก 100,000 ในฤดูกาล 2003–04 ไปเป็น 170,000 ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2009 ความนิยมที่เพิ่มขึ้นมาจากนักฟุตบอล รอนัลดีนโย และยุทธวิธีด้านสื่อของประธานสโมสร ชูอัน ลาปอร์ตา ที่มุ่งไปด้านสื่อออนไลน์สเปนและอังกฤษ 

 

นอกจากนั้น จากข้อมูลเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2010 สโมสรมีสมาชิกลงทะเบียนอย่างเป็นทางการ 1,335 คน จากทั่วโลก โดยเรียกว่า เปนเยส แฟนของสโมสรที่ช่วยประชาสัมพันธ์สโมสรในท้องถิ่นของตนเองจะได้รับสิทธิในการ เยี่ยมชมเมื่อมายังบาร์เซโลนา[71] ส่วนผู้สนับสนุนที่มีชื่อเสียง เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ที่เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ และนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของสเปน โคเซ ซาปาเตโร

เอลกลาซีโก

      มักจะเกิดความดุเดือดในเกมการแข่งขันระหว่างทีมที่แข็งแกร่งที่สุดของประเทศนี้ โดยเฉพาะใน ลาลีกา โดยเกมการแข่งขันระหว่างบาร์ซาและเรอัลมาดริด เรียกว่า เอลกลาซีโก (สเปน: El Clásico) ตั้งแต่เริ่มมีการแข่งขันระดับประเทศ ทั้ง 2 สโมสรเหมือนเป็นตัวแทนของคู่แข่งกันทั้ง 2 ภูมิภาคของสเปน คือ กาตาลุญญาและแคสตีล รวมถึง 2 เมืองด้วย การแข่งขันยังสะท้อนให้เห็นว่าเกี่ยวข้องกับการเมืองและความตึงเครียดของ ทั้ง 2 วัฒนธรรม สามารถเห็นได้จากการออกกฎหมายในช่วงสงครามกลางเมืองสเปน
 


      ในช่วงการปกครองแบบเผด็จการของ ปรีโม เด รีเบรา โดยเฉพาะจอมพลฟรันซิสโก ฟรังโก (ค.ศ. 1939–1975) วัฒนธรรมย่อยทั้งหมดถูกปราบปราม ภาษาที่ใช้ในดินแดนสเปนทั้งหมดต้องใช้ภาษาสเปน (ภาษาสเปนแคสตีล) ภาษาอื่นถูกห้ามใช้อย่างเป็นทางการ บาร์เซโลนาเป็นเหมือนเครื่องหมายแห่งความต้องการอิสรภาพของชาวคาตาลัน บาร์ซากลายเป็นอะไรที่ "มากกว่าสโมสร" (สเปน: Més que un club) นักเขียนชาวสเปน มานวยล์ บัซเกซ มอนตัลบัน กล่าวไว้ว่า หนทางที่ดีที่สุดที่ชาวคาตาลันจะพิสูจน์ให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของตัวเอง คือการมาร่วมกับทีมบาร์ซา เป็นการเสี่ยงน้อยกว่าที่จะร่วมกับกลุ่มต่อต้านจอมพลฟรังโกและพอจะอนุญาตให้ พวกเขาแสดงการเคลื่อนไหว

 

      ในทางกลับกัน เรอัลมาดริด แสดงให้เห็นถึงการเป็นศูนย์กลางอำนาจสูงสุดและระบอบการปกครองฟาสซิสต์ แต่อย่างไรก็ตามในระหว่างสงครามกลางเมืองสเปน สมาชิกของทั้ง 2 สโมสร อย่างเช่น ชูเซบ ซุนยอล และ ราฟาเอล ซานเชซ เกร์รา ก็ต่างเจ็บปวดจากผู้สนับสนุนจอมพลฟรังโก
ในระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1950 บาร์เซโลนายิ่งแย่ลงไปเมื่อเกิดข้อพิพาทเรื่องการโยกย้ายทีมของ อัลเฟรโด ดี สเตฟาโน ที่สุดท้ายลงเอยกับทีมเรอัลมาดริด และต่อมาก็เป็นกุญแจสำคัญในชัยชนะของทีม ในคริสต์ทศวรรษ 1960 เรอัลมาดริดเข้าสู่รอบแพ้คัดออกในถ้วยยุโรป ทั้ง 2 ทีมเจอกัน 2 ครั้ง ส่วนการเจอกันในถ้วยยุโรปครั้งล่าสุดคือในปี ค.ศ. 2002 ที่สื่อสเปนขนานนามว่า "นัดฟุตบอลแห่งศตวรรษ" มีผู้ชมมากกว่า 500 ล้านคน

สนาม คัมป์ นู

     เริ่มแรกบาร์เซโลนาเล่นที่สนามกัมเดลาอินดุสเตรีย มีความจุราว 10,000 คนและสโมสรเห็นว่าสิ่งอำนวยความสะดวกยังไม่ดีพอกับสมาชิกที่เพิ่มขึ้น

       ในปี ค.ศ. 1922 ผู้สนับสนุนสโมสรมีเพิ่มขึ้นมากกว่า 20,000 คน และสนับสนุนเงินให้กับสโมสร ทำให้บาร์ซาสามารถที่จะสร้างสนามที่ใหญ่กว่า โดยสร้างสนามกัมเดเลสกอตส์ ที่มีความจุ 20,000 คน หลังจากสงครามกลางเมืองสเปน สโมสรเริ่มมีสมาชิกมากขึ้นและมีผู้เข้าชมการแข่งขันเป็นจำนวนมาก ทำให้มีการขยับขยายสนาม โดยขยายอัฒจันทร์ใหญ่ ในปี ค.ศ. 1946 ขยายอัฒจันทร์ฝั่งทิศใต้ในปี ค.ศ. 1946 และสุดท้ายขยายอัฒจันทร์ฝั่งทิศเหนือในปี ค.ศ. 1950 หลังการขยับขยายครั้งสุดท้าย สนามเลสกอตส์สามารถจุคนได้ 60,000 คน
    



       หลังจากต่อเติมเสร็จ สนามเลสกอตส์ก็ไม่สามารถขยับขยายห้องได้เพิ่มขึ้นอีก และจากความสำเร็จในการเป็นผู้ชนะเลิศในลาลีกาติดต่อกันในปี ค.ศ. 1948 และ 1949 รวมถึงได้เซ็นสัญญากับนักฟุตบอล ลัสโซล คูบาลา ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1950 ที่ต่อมาเขายิงประตูให้กับสโมสร 196 ประตูใน 256 นัด ก็ยิ่งทำให้มีฝูงชนเข้ามาดูการแข่งขันมากขึ้น สโมสรจึงเริ่มวางแผนการสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่ สนามกัมนอว์เริ่มก่อสร้างวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1954 วางศิลาฤกษ์ก้อนแรกโดยผู้ว่า เฟลีเป อาเซโด โกลังกา ที่ทำพิธีโดยอาร์ชบิชอปแห่งบาร์เซโลนา เกรโกเรียว โมเดรโก โดยใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1957 ด้วยค่าก่อสร้างทั้งหมด 288 ล้านเปเซตา เกินงบประมาณ 336%





      ในปี ค.ศ. 1980 มีการออกแบบสนามกีฬาใหม่ให้เข้ากับเกณฑ์พิจารณาของยูฟ่า สโมสรได้หาเงินจากผู้สนับสนุน โดยจะสลักชื่อบนหินด้วยจำนวนเงินเล็กน้อย แนวคิดนี้ได้รับการตอบรับจากผู้สนับสนุน โดยมีคนหลายพันคนร่วมสนับสนุน แต่ต่อมากลายเป็นข้อพิพาทเมื่อสื่อในมาดริด ยกประเด็นนี้เมื่อมีหินก้อนหนึ่งที่สลักชื่อ ประธานของเรอัลมาดริด และผู้สนับสนุนจอมพลฟรังโก ชื่อ ซานเตียโก เบร์นาเบว เยสเต ต่อมาในการเตรียมงานสำหรับกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1992 ได้มีการติดที่นั่ง 2 แถว เหนือแนวหลังคาเดิม ปัจจุบันสนามจุคนได้ 99,354 คน เป็นสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป


เกียรติประวัติ

สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จในฟุตบอลสเปน ในแง่ของจำนวนถ้วยรางวัลภายในประเทศและทุกถ้วย โดยชนะในการแข่งลาลีกา 21 ครั้ง ชนะในโกปาเดลเรย์ 25 ครั้ง ชนะในซูเปร์โกปาเดเอสปาญา 10 ครั้ง ชนะในโกปาเอบาดัวร์เต 3 ครั้ง และได้รางวัล โกปาเดลาลีกา 2 ถ้วยและยังเป็นผู้ถือครองทั้ง 4 ถ้วยในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จที่สุดในยุโรป โดยได้ชนะเลิศในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 4 ครั้ง, ชนะในยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ 4 ครั้ง ชนะในยูฟ่าซูเปอร์คัพ 4 ครั้ง และชนะฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ 1 ครั้ง พวกเขายังถือสถิติชนะในอินเตอร์-ซิตีส์แฟร์สคัป 3 ครั้ง ถ้วยต้นแบบของยูฟ่าคัพ
 


นอกจากนั้นยังเป็นสโมสรยุโรปสโมสรเดียวที่แข่งในฟุตบอลระหว่างทวีปในทุก ฤดูกาลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1955 และเป็น 1 ใน 3 สโมสรที่ไม่เคยตกชั้นในลาลีกา ร่วมกับทีมแอทเลติกบิลบาโอและเรอัลมาดริด ในปี ค.ศ. 2009 เป็นสโมสรสเปนสโมสรแรกที่ได้ถือครองแชมป์ 3 รางวัล คือ ลาลีกา, โกปาเดลเรย์ และแชมเปียนส์ลีก และในปีเดียวกันนี้ยังเป็นสโมสรฟุตบอลสโมสรแรกที่ชนะในการแข่งขัน 6 รางวัลในปีเดียวกัน เพิ่มอีก 3 ถ้วยคือ ซูเปร์โกปาเดเอสปาญา, ยูฟ่าซูเปอร์คัพ และ ฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น