วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด





Buriram PEA F.C..png


ประวัติสโมสร

สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เดิมชื่อ สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ พีอีเอ เป็นสโมสรที่เปลี่ยนแปลงมาจากสโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2513 โดยดร.วีระ ปิตรชาติ มีเป้าหมายเพื่อให้พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ออกกำลังกายและสร้างความสามัคคีร่วมกันในหมู่คณะ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 สโมสรได้เข้าร่วมการแข่งขันอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ประเภท ง. โดยลงเล่น 3 ฤดูกาลก็ได้เลื่อนขึ้นไปเล่นในถ้วย ค. และลงเล่นอยู่ 2 ฤดูกาลก็ได้เลื่อนขึ้นไปเล่นถ้วย ข. และอีก 2 ฤดูกาลสโมสรก็สามารถเลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นในดิวิชั่น 1ได้สำเร็จ
หลังจากลงเล่นในดิวิชั่น 1อยู่นานสโมสรก็ได้เลื่อนขึ้นมาเล่นในลีกสูงสุดได้สำเร็จเป็นครั้งแรก เมื่อได้รองแชมป์ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2547 และได้เล่นในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกเป็นครั้งแรกในฤดูกาล 2548 โดยฤดูกาลแรกในลีกสูงสุดสโมสรสร้างผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม เมื่อได้ตำแหน่งรองแชมป์ และศุภกิจ จินะใจ กองหน้าของทีมก็คว้าตำแหน่งดาวซัลโวร่วมกับศรายุทธ ชัยคำดี กองหน้าของทีมการท่าเรือไทย ที่จำนวน 10 ประตู และยังได้เล่นเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก เป็นครั้งแรกในฤดูกาล 2549 อีกด้วย


 


ฤดูกาล 2551 สโมสรสามารถคว้าแชมป์ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ได้เป็นครั้งแรกภายใต้การคุมทีมของประพล พงษ์พาณิชย์และได้สิทธิเข้าร่วมแข่งขันเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือก ในฤดูกาล 2552
ฤดูกาล 2552 สโมสรตกรอบคัดเลือกเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก ทำให้ไม่สามารถเข้าไปเล่นในรอบแบ่งกลุ่มได้ และมีผลงานในลีกไม่ดีนัก สโมสรจึงได้เปลี่ยนผู้จัดการทีมในเดือนพฤษภาคม ปี 2552 จากประพล พงษ์พาณิชย์ เป็นทองสุข สัมปหังสิต อดีตผู้จัดการทีมชาติไทย ชุดแชมป์ซีเกมส์ ที่นครราชสีมา


 


การเทคโอเวอร์สโมสร

การเทคโอเวอร์สโมสร เกิดขึ้นในช่วงฤดูกาล 2552 จากความต้องการของนายเนวิน ชิดชอบ นักการเมืองของจังหวัดบุรีรัมย์ ที่ต้องการซื้อหุ้นทีมฟุตบอลในไทยพรีเมียร์ลีก ให้ย้ายไปเล่นในนามจังหวัดบุรีรัมย์เป็นการชั่วคราว ในขณะเดียวกันก็สร้างทีมใหม่อีกหนึ่งทีม ไต่อันดับขึ้นมาจากดิวิชันต่ำสุด  ในเบื้องต้นได้เจรจากับสโมสรฟุตบอลตำรวจ แต่ได้รับการปฏิเสธ  นายเนวินได้มีการเจรจาในเบื้องต้นกับสโมสรฟุตบอลทีโอที และสโมสรฟุตบอลทหารบก  แต่ตกลงกันไม่ได้ ในที่สุดจึงได้มีการซื้อขายหุ้นของสโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งมีผลงานสิ้นสุดฤดูกาลในอันดับที่ 9 ทางสโมสรได้ตกลงที่จะย้ายสนามแข่งจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไปอยู่ที่จังหวัดบุรีรัมย์  หลังจากนั้นทางสโมสรได้เปลี่ยนแปลงชื่อทีมเป็น บุรีรัมย์-พีอีเอ พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทีมผู้บริหารทั้งหมด และทีมผู้ฝึกสอนบางส่วน

ฤดูกาล 2553 - 2554

การเข้ามาของกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหม่ ส่งผลให้มีการปรับปรุงและพัฒนาทีมอย่างมาก มีการนำระบบบริหารจัดการสโมสรฟุตบอลอาชีพเข้ามาใช้กับบริษัท เช่น การทำสัญญาจ้างนักฟุตบอล การเจรจา และทำสัญญาซื้อขายนักฟุตบอลด้วยสัญญามาตรฐาน การสร้างสนามฟุตบอลแห่งใหม่ตามมาตรฐานของบริษัทไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด เพื่อใช้เป็นสนามเหย้า การจัดทำระบบบัญชี การเงิน กฎหมาย การตลาด การโฆษณา และการประชาสัมพันธ์ เต็มรูปแบบ เพื่อสร้างความนิยมให้แก่ทีมบุรีรัมย์ พีอีเอ และ ความน่าเชื่อถือแก่บริษัท


 


ผลจากการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการธุรกิจ และพัฒนาทีมอย่างจริงจัง ภายใต้นโยบายของนายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสรคนใหม่ ส่งผลให้บุรีรัมย์ พีอีเอ เป็นทีมที่ได้รับความนิยมสูงสุดในไทยพรีเมียร์ลีกอย่างรวดเร็ว มีผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิก หรือแฟนคลับ มากถึง 65,000 คน  มีผู้เข้าชมเกมการแข่งขัน นัดละไม่น้อยกว่า 10,000 คน เมื่อเป็นเจ้าบ้าน และเมื่อเป็นทีมเยือน จะมีแฟนบอลติดตามไปชมไม่น้อยกว่า 1,500 คน อีกทั้งยังเป็นทีมที่สร้างสถิติผู้เข้าชมสูงสุดของไทยพรีเมียร์ลีก คือ 25,000 คน และ สร้างสถิติจำหน่ายของที่ระลึกได้สูงสุด 1,400,000 บาท ภายในวันเดียว คือนัดที่เตะกับเมืองทองยูไนเต็ด เมื่อวันที่ กันยายน 2553 


 


ในฤดูกาล 2554 ทีมบุรีรัมย์-พีอีเอได้เป็นแชมเปียนไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก หลังจากเอาชนะ ทีมสโมสรฟุตบอลทหารบก ที่สนามกีฬากองทัพบก เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2554 ได้คะแนน 75 คะแนน ทิ้งห่างอันดับสอง ทั้งที่ยังมีการแข่งขันเหลืออีก 4 นัด  โดยมีพิธีมอบถ้วยรางวัลหลังการแข่งขันนัดสุดท้ายของฤดูกาล


 


และยังได้ทริปเปิลแชมป์ หรือ 3 แชมป์ ในฤดูกาลเดียวกัน เมื่อเอาชนะทีมการท่าเรือไทย เอฟซี ไปได้ 2-0 ที่สนามศุภชลาศัย ได้แชมป์โตโยต้า ลีกคัพ หลังจากการได้แชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก และไทยคม เอฟเอคัพ ไปแล้ว โดยถือว่าเป็นทีมฟุตบอลทีมแรกในประวัติศาสตร์ฟุตบอลไทยที่ทำได้ และยังได้แชมป์ที่ 4 ด้วยการเอาชนะ ทีมเวกัลตะ เซนได จากเจลีก ด้วยลูกจุดโทษ ในรายการโตโยต้า พรีเมียร์คัพ ไปได้ 5-3 หลังในเวลาเสมอกัน 1-1



ฤดูกาล 2555

ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2554 ฝ่ายเจ้าของสิทธิ์ของสโมสรเดิม คือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งเดิมอยู่ในการกำกับดูแลของนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล จาก พรรคภูมิใจไทย ได้เปลี่ยนมาอยู่ในการกำกับดูแลของนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ จาก พรรคเพื่อไทย ได้มีนโยบายที่จะย้ายสโมสรออกจากจังหวัดบุรีรัมย์ ผลการเจรจาได้ข้อสรุปว่าฝ่ายนายเนวินจะขายหุ้น 70%  ที่ตนถืออยู่ออกไป จะแยกทีมการไฟฟ้าออกจากจังหวัดบุรีรัมย์และย้ายไปอยู่จังหวัดอื่น ส่วนนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ทีมบุรีรัมย์-พีอีเอเดิม จะไปรวมกับสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ เอฟซี ที่ได้แชมเปียนไทยลีกดิวิชั่น 1 และเลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2555 พร้อมกับเปลี่ยนชื่อทีมเป็น "สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด" 





นายเนวินกล่าวว่า ในฤดูกาล 2555 สโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (บุรีรัมย์ เอฟซีเดิม) จะลงเล่นในไทยพรีเมียร์ลีก และเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ด้วยโควตาชนะเลิศฤดูกาล 2554 ของบุรีรัมย์-พีอีเอ 

 


เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555 นายเนวินได้เปิดแถลงข่าวว่า ได้ซื้อหุ้นอีก 30% ของสโมสรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มาบริหารจัดการเองทั้งหมด รวมทั้งสิทธิทั้งหมดในนามการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จากนั้นจะเปลี่ยนชื่อทีมเป็น "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด" ตามแผนเดิม ส่วนสิทธิการเล่นในไทยพรีเมียร์ลีกของบุรีรัมย์ เอฟซีนั้น จะโอนให้กับ สงขลา เอฟซี ของนายนิพนธ์ บุญญามณี ส่วนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนั้น จะไม่มีการส่งทีมเข้าแข่งขันรายการของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยอีกต่อไป


 


ในฤดูกาล 2555 บุรีรัมย์จบอันดับ 4 ใน ไทยพรีเมียร์ลีก 2555 และคว้าแชมป์ ไทยคม เอฟเอคัพ 2555 ด้วยการชนะอาร์มี่ ยูไนเต็ด ไป 2–1 ซึ่งได้สิทธิไปเล่น เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2013 รอบคัดเลือก และคว้าแชมป์ โตโยต้า ลีกคัพ 2555 ด้วยการชนะ ราชบุรี มิตรผล เอฟซี ไป 4–1 ซึ่งเป็นดับเบิ้ลแชมป์บอลถ้วยและบุรีรัมย์ยูไนเต็ดสามารถป้องกันแชมป์ทั้ง สองรายการได้อีกหนึ่งสมัยอีกด้วย ในฤดูกาล 2556 บุรีรัมย์จบอันดับ 1ใน ไทยพรีเมียร์ลีก 2556 และคว้าแชมป์ ไทยคม เอฟเอคัพ 2556ด้วยการชนะ สโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส ไป 3–1 ซึ่งได้สิทธิไปเล่น เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2014 รอบแบ่งกลุ่ม และคว้าแชมป์ โตโยต้า ลีกคัพ 2556สมัยที่3 ด้วยการชนะ ราชบุรี มิตรผล เอฟซี ไป 2–1 ซึ่งเป็นดับเบิ้ลแชมป์บอลถ้วยและบุรีรัมย์ยูไนเต็ดสามารถป้องกันแชมป์ทั้ง สองรายการได้อีกหนึ่งสมัยอีกด้วย เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2013 ผ่านเข้ารอบ 8 ทีม





สนาม ไอโมบายสเตเดียม



 อ-โมบาย สเตเดียม หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ธันเดอร์ คาสเซิล สเตเดียม (อังกฤษ: New i-Mobile Stadium, Thunder castle Stadium, Buriram Stadium) เป็นสนามกีฬาที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ตั้งอยู่ที่ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สนามแห่งนี้มีความจุ 24,000 ที่นั่ง โครงสร้างประกอบด้วยเหล็กและไฟเบอร์ ซึ่งสร้างด้วยงบประมาณกว่า 500 ล้านบาท โดยเป็นเงินสนับสนุนของไอ-โมบาย และบางส่วนของนายเนวิน ชิดชอบ และจัดเป็นสนามฟุตบอลที่ได้มาตรฐานแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่ไม่มีลู่วิ่งคั่นสนามและผ่านมาตรฐานฟีฟ่า, เอเอฟซี และเอเอฟเอฟ และยังผ่านมาตรฐานระดับเอคลาสสเตเดียมจากเอเอฟซี และยังผ่านมาตรฐานระดับเวิลด์คลาสจากฟีฟ่า และยังได้บันทึกลงกินเนสบุค ว่าเป็นสนามฟุตบอลในระดับฟีฟ่าแห่งเดียวในโลกที่ใช้เวลาก่อสร้างน้อยที่สุดในโลกคือ 256 วัน 


 


สนามนี้มีทั้งหมด 4 ชั้น โดยชั้นที่ 1 เป็นสำนักงานห้องแถลงข่าว, ห้องสื่อมวลชน, ร้านขายสินค้าที่ระลึก, ห้องนักกีฬาทีมเหย้า-เยือน, ห้องพักผู้ตัดสิน, ห้องปฐมพยาบาล และห้องประชุม ชั้นที่ 2 จะเป็นห้องจัดเลี้ยงใหญ่จำนวน 400 ที่ นั่ง ชั้นที่ 3 เป็น ห้องวีไอพี 6 ห้อง และ ห้องจัดเลี้ยง 1 ห้อง และชั้นที่ 4 มี ห้องวีไอพีจำนวน 15 ห้อง สนามแห่งนี้ยังมีการติดตั้งไฟส่องสว่างของฟิลิปส์อย่างมาตรฐานจะมีความสว่าง ของไฟอยู่ที่ 1,500 ลักซ์ โดยในส่วนอัฒจรรย์ฝั่งกองเชียร์นั้นมีเก้าอี้ที่นั่งเชียร์เป็นสีน้ำเงิน เกือบหมดแต่จะใช้เก้าอี้สีขาวตรงที่มีคำว่า ธันเดอร์คาสเซิล และ บุรีรัมย์ มีหัวหน้ากองเชียร์คือ นางกรุณา ชิดชอบ เป็นแกนนำหลักในการเชียร์


 


สนาม ไอ-โมบาย สเตเดียม เคยใช้เป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ตและกิจกรรมรื่นเริงครั้งใหญ่ในเทศกาลสงกรานต์ในปี พ.ศ. 2555 โดยการจัดของนายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสร โดยมีศิลปินนักร้องมากมาย อาทิ โซะระ อะโอะอิ, เอ็นเอส ยุน จีน, ปีเตอร์ คอร์ป ไดเรนดัล, นูโว, ไมโคร, ปกรณ์ ลัม, บอดี้แสลม, คาราบาว, ลาบานูน, บิ๊กแอส, โลโซ เป็นต้น


 


 


 


 

















วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

สโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด



ยุคแรก (โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสสรณ์) 

ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2532 ผู้ก่อตั้งสโมสรฟุตบอลเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด คือ วรวีร์ มะกูดี ซึ่งปัจจุบันเป็นนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ชื่อแรกที่ขึ้นทะเบียนไว้กับสมาคมฟุตบอลเป็นชื่อทีมโรงเรียนหนองจอกพิทยานุ สสรณ์ เริ่มไต่เต้าจากถ้วยเล็กสุดอย่างถ้วยพระราชทานประเภท ง กระทั่งในการแข่งขันฟุตบอลลีกดิวิชัน 1 ฤดูกาล 2545-2546 ทีม ร.ร.หนองจอกพิทยานุสรณ์ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นหนแรกเป็น สโมสรฟุตบอลไข่มุกดำหนองจอก โดยได้วีระ มุสิกพงศ์ อดีตนักการเมือง เข้ามาทำทีม แต่แค่ฤดูกาลเดียวเมื่อไม่ประสบความสำเร็จวีระ ก็เลิกลาไปโดยที่ทีมยังคงอยู่ในลีกดิวิชัน 1 ต่อไป
 

เข้าสู่ระบบลีก

ฤดูกาลต่อมาของลีกดิวิชัน 1 2546 - 2547 ทีมเปลี่ยนชื่ออีกครั้งตามกลุ่มที่เข้ารับทำทีมต่อคือ สโมสรฟุตบอลหลักทรัพย์โกล์เบล็ค หนองจอก โดยมีสมศักดิ์ เซ็นเชาวนิช เป็นผู้จัดการทีม แต่ปีนั้นทีมทำผลงานได้ย่ำแย่ จนสุดท้ายก็ต้องตกชั้นไปเล่นในถ้วยพระราชทานประเภท ข ในฤดูกาล 2547-2548 โดยกลับไปใช้ชื่อเดิม ร.ร.หนองจอกพิทยานุสรณ์ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
ต่อมา สมาคมฟุตบอลฯ ต้องการยกระดับลีกการแข่งขันในประเทศของไทย ให้เป็นสากลมากขึ้นจึงก่อตั้งลีกดิวิชัน 2 ขึ้นมาโดยนำทีมจากถ้วยพระราชทาน ข และ ค มาผสมรวมกันเพื่อแข่งขันในลีกนี้ในฤดูกาล 2549 - 2550 ซึ่ง ร.ร.หนองจอกพิทยานุสรณ์ได้สิทธิ์เข้าแข่งขันด้วย และปีนั้นกับลีกดิวิชัน 2 ของไทยครั้งแรกชื่อทีมเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด โดยผู้สนับสนุนทีมคือ ระวิ โหลทอง ที่รับตำแหน่งประธานสโมสร

ยุคเริ่มต้นความสำเร็จ

เริ่มต้นที่ปี พ.ศ. 2550 ปีนั้นทีมใช้ผู้จัดการทีมอย่าง นพพร เอกศาสตรา คุมทีม โดยมี โรเบิร์ต โปรคูเรอร์ เป็นผู้จัดการทีม ปีนั้นเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ดได้แชมป์ลีกดิวิชัน 2 ครั้งแรกพร้อมได้สิทธิ์ขึ้นไปเล่นลีกดิวิชัน 1 ในปี พ.ศ. 2551 ในปีต่อมา ผู้จัดการทีมอย่างสุรศักดิ์ ตังสุรัตน์ สามารถพาทีมคว้าแชมป์ลีกดิวิชัน 1 ประจำปี 2551 มาครอบครองได้สำเร็จ พร้อมขึ้นชั้นมาเล่นไทยพรีเมียร์ลีก 2552 (ไทยลีก ครั้งที่ 13)
ไทยพรีเมียร์ลีก 2552 อันเป็นครั้งแรกของทีมเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด ที่ได้ขึ้นมาเล่นลีกสูงสุดของประเทศ นับจากก่อตั้งสโมสรมา 20 ปีนั้น ปีนั้น เมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ดสร้างประวัติศาสตร์เป็นทีมแรกที่สามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลลีกของไทยไล่ จากลีกดิวิชัน 2, ดิวิชัน 1 จนถึงลีกสูงสุดโดยใช้เวลาเพียง 3 ปี

ฤดูกาล 2553

สโมสรฟุตบอลเมืองทอง หนองจอก ยูไนเต็ด ที่ได้แชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก 2552 ในฤดูกาลก่อนได้ลงป้องกันแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก โดยตลอดทั้งฤดูกาลก็ทำผลงานได้ดีจนได้แชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก 2553 เป็นสมัยที่สองติดต่อกัน ซึ่งการได้ 2 สมัยนั้นทำให้มีสถิติเทียบเท่าบีอีซี เทโรศาสน, ธนาคารกรุงไทย และทหารอากาศ (หรือแอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด ในปัจจุบัน)  ส่วนก่อนฤดูกาลแข่งขันนั้นก็ได้แชมป์ ถ้วยพระราชทานประเภท ก ที่สามารถชนะการท่าเรือไทย ได้ 2-0 ส่วนถ้วยอื่น ๆ อย่างเอเอฟซีคัพ และไทยคม เอฟเอคัพ ได้ตำแหน่งรองชนะเลิศ

ฤดูกาล 2554

สโมสรฟุตบอลเมืองทอง หนองจอก ยูไนเต็ดได้ลงป้องกันแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีกติดต่อกันเป็นปีที่ 3 ครั้งนี้ทีมพยายามอย่างเต็มที่เพื่อจะได้เป็นแชมป์ 3 สมัยติดต่อกัน แต่ด้วยการไปเล่นเอเอฟซีคัพ ทำให้มีการเหนื่อยล้าของนักเตะ รวมถึงการเปลี่ยนผู้จัดการทีมใหม่จากเรอเน เดอซาแยร์มาเป็นการ์ลูส โรเบร์ตู จี การ์วัลยูและเฮ็นริเก คาลิสโต ในช่วงเลก 2 ของฤดูกาลมีการเซ็นสัญญาซื้อร็อบบี ฟาวเลอร์เข้า ร่วมทีม ต่อมาในเดือนกันยายน คาลิสโต ที่พาทีมตกรอบเอเอฟซีคัพ ถูกทางสโมสรปลดออก และร็อบบี ฟาวเลอร์ ตำแหน่งเพลยเออร์-เมเนเจอร์ (เป็นทั้งผู้จัดการทีมและผู้เล่น) โดยทำการคุมทีมนัดแรกในนัดที่พบกับเอสซีจี สมุทรสงคราม หลังจากนั้นอีกไม่นาน เมื่อเมืองทอง ยูไนเต็ด ได้เพียงอันดับ 3 ในฤดูกาลนี้ ทำให้ฟาวเลอร์ ได้ขอลาออกจากตำแหน่ง

ฤดูกาล 2555

ดูบทความหลักที่: สโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ในฤดูกาล 2555
ปูนซีเมนต์ไทย (เอสซีจี) ได้เซ็นสัญญาเพื่อมาเป็นผู้สนับสนุนของทีม โดยมีมูลค่าสัญญามากถึง 600 ล้านบาท และได้ทำการเปลี่ยนชื่อสนาม จาก "ยามาฮ่า สเตเดียม" มาเป็น "เอสซีจี สเตเดียม" และชื่อทีมจาก "เมืองทอง หนองจอก ยูไนเต็ด" มาเป็น "เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด" ส่วนโลโก้ของสโมสรก็มีการเปลี่ยนให้ตัวกิเลนทั้ง 2 ตัว มีขาชิดกันมากขึ้นกว่าเดิม ช่วงก่อนเปิดฤดูกาลก็ได้มีการซื้อเอกภูมิ โพธารุ่งโรจน์, มงคล นามนวด, อัดนัน บาราคัท และมารีโอ ยูโรฟสกี เข้ามาร่วมทีม รวมถึงการเซ็นสัญญาผู้จัดการทีมคนใหม่ คือ สลาวีชา วอคานอวิช โดยผลงานจบเลกแรก ด้วยการเป็นอันดับที่ 1 ของตารางไทยพรีเมียร์ลีก 2555 หลังจากนั้นก่อนเปิดเลกที่ 2 ก็ได้มีการซื้อนักเตะเพิ่มเติม โดยมีเอดีบัลโด โรคัซ เอร์โมซา ปีกทีมชาติโบลิเวีย และเปาโล เรนเกิล นักเตะบราซิล ต่อมาในช่วงเดือนกันยายน ทีมได้ตกรอบโตโยต้า ลีกคัพ ด้วยการแพ้ทีโอที เอสซี และตกรอบไทยคม เอฟเอคัพด้วยการแพ้อาร์มี ยูไนเต็ด แต่ทีมยังรักษาอันดับ 1 ไว้ได้ตั้งแต่เลกแรก และจนถึงช่วงปลายเลกที่ 2 ทีมก็ยังรักษาฟอร์มที่ดีไว้ได้ จนเหลือ 3 นัดสุดท้าย เมื่อแต้มได้ทิ้งห่าง ชลบุรี เอฟซี ทีมอันดับที่ 2 มากพอที่จะได้เป็นแชมป์อย่างเป็นทางการตั้งแต่ยังไม่จบฤดูกาล โดยมีการฉลองแชมป์ที่เอสซีจี สเตเดียม ในนัดที่พบกับชัยนาท เอฟซี โดยหลังจบเกม ทางสโมสรให้แฟนบอลได้ฉลองกันอย่างเต็มที่ และให้ลงมาสัมผัสสนามหญ้าของเอสซีจี สเตเดียม รวมไปถึงให้พบกับนักฟุตบอลของทีมอย่างใกล้ชิดและเป็นกันเอง และฤดูกาลหน้า สโมสรจึงได้สิทธิ์ไปเล่นเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกในรอบแบ่งกลุ่ม และปีนี้เองที่ เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ได้ทำสถิติไร้พ่ายเป็นทีมแรกของเมืองไทยและของสโมสร
 


 





สโมสรฟุตบอลเมืองทองยูไนเต็ด ใช้สนามเอสซีจีสเตเดียมเป็นสนามเหย้า โดยสนามแห่งนี้อยู่หลังอาคารชาเลนเจอร์ นอกจากนี้ยังมีห้องวีไอพี บ็อก ให้บริการ และพื้นที่สำหรับผู้สื่อข่าว รวมถึงห้องแถลงข่าว

สนาม เอสซีจี สเตเดียม

สำหรับสนามเอสซีจี สเตเดียม นั้นปัจจุบันมีความจุ 17,500 ที่นั่ง ได้มาตรฐานเอเอฟซี ย้อนกลับไปปี พ.ศ 2550 สภาพสนามเอสซีจี สเตเดี้ยม ซึ่งยังเรียกว่า ธันเดอร์โดม สเตเดี้ยม แสดงพัฒนาการให้เห็นขึ้นตามลำดับ ไล่มาตั้งแต่การคว้าแชมป์ดิวิชั่น 2 ในปี 2550 ก่อนจะก้าวไปอีกขั้นกับ แชมปืดิวิชั่น 1 ในปี 2551 ต่อด้วย แชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก ในปี 2552 จนแฟนคลับมีจำนวนเพื่มขึ้นตามลำดับ จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อสนามเป็น ยามาฮ่า สเตเดี้ยม พร้อมลงมือก่อสร้างอัฒจรรย์ทั้ง 3ด้าน รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกและในปี 2553 ได้ทำการปรับปรุงพื้นสนาม โดยใช้หญ้าพันธุ์ดีอย่าง "พาสพาลัม" ขณะที่ส่วนอัฒจรรย์ ที่นั่งของสนามยามาฮ่าสเตเดี้ยม ยังติดตั้งเก้าอี้ จำนวน 9,000 ที่นั้ง ในอัฒจรรย์ฝั่งทิศตะวันออก และตะวันตก ปี 2555 ได้เปลี่ยนชื่อตามสปอนเซอร์ใหม่เป็น "เอสซีจี สเตเดียม"


 


ราคาตั๋ว อัฒจรรย์ทิศตะวันตก (West Stand) โซน W1-W3 และ W7 120 บาท โซน W4-W6 150 บาท อัฒจรรย์ทิศตะวันออก (East Stand) โซน E1 และ E4 120 บาท โซน E2-E3 200 บาท อัฒจรรย์ทิศเหนือ (North Stand) และทิศใต้ (South Stand) 100 บาท


 


อนาคตทางเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ดมีแผน 2 แผนคือ ต่อเติมให้มีความจุ 25,000 คน หรือสร้างสนามใหม่เพื่อรองรับแฟนบอล 35,000 คน ซึ่งใช้งบราว 500-700 ล้านบาท

กองเชียร์


ลักษณะการเชียร์ กองเชียร์เมืองทอง ยูไนเต็ด จะเรียกกันว่า "อุลตร้า เมืองทอง เชียร์ไม่มีหมด 90 นาที และ กิเลน N-ZONE" โดยมีฝั่งอัฒจรรย์ ทิศเหนือ และทิศใต้ เป็นโซนยืนเชียร์แต่ปัจจุบันได้ติดเก้าอี้แล้ว ส่วนอัฒจรรย์ทิศตะวันออก และตะวันตก เป็นที่นั่งติดเก้าอี้ทั้งหมด


































สโมสรฟุตบอล บาร์เซโลนา



Fc barcelona.png



ประวัติ

จุดกำเนิดของสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา (1899–1922)

       เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1899 ฮันส์ กัมเปร์ ได้ลงประกาศโฆษณาใน โลสเดปอร์เตส ว่ามีความต้องการที่จะก่อตั้งสโมสรฟุตบอล โดยได้รับการตอบรับอย่างดีในการนัดพบกันที่คิมนาเซียวโซเล เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน โดยมีผู้เล่น 11 คนมาร่วมได้แก่ วอลเตอร์ ไวลด์ (ผู้บริหารคนแรกของสโมสร), ลุยส์ ดีออสโซ, บาร์โตเมว เตร์ราดัส, ออตโต กุนเซิล, ออตโต แมเยอร์, เอนริก ดูกัล, เปเร กาบอต, กาเลส ปูคอล, ชูเซป โยเบต, จอห์น พาร์สันส์ และ วิลเลียม พาร์สัน ทำให้ ฟุตบอลคลับบาร์เซโลนา ก็ถือกำเนิดขึ้นมา

      สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประสบความสำเร็จในช่วงแรกกับการแข่งขันถ้วยท้องถิ่นและระดับชาติ ได้ลงแข่งในกัมเปียวนัตเดกาตาลุนยาและถ้วยโกปาเดลเรย์ ในปี ค.ศ. 1902 สโมสรชนะถ้วยแรกในถ้วยโกปามากายา และร่วมลงแข่งในโกปาเดลเรย์ครั้งแรก แต่แพ้ 1–2 ให้กับบิซกายา ในนัดชิงชนะเลิศ[4] กัมเปร์ได้เป็นประธานสโมสรในปี ค.ศ. 1908 แต่สโมสรมีปัญหาด้านการเงินเนื่องจากไม่สามารถชนะการแข่งขันได้ตั้งแต่กัม เปียนัตเดกาตาลัน ในปี ค.ศ. 1905 เขาเป็นประธานสโมสรใน 5 วาระในระหว่างปี ค.ศ. 1908 ถึง 1925 รวม 25 ปี ที่เขาดำรงตำแหน่งประธานสโมสร หนึ่งในความสำเร็จคือการทำให้สโมสรมีสนามกีฬาของตัวเอง ทำให้มีรายได้ที่มั่นคง

      เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1909 สโมสรได้ย้ายไปสนามกัมเดลาอินดุสเตรีย ที่มีที่นั่งจุ 8,000 คน จากปี ค.ศ. 1910 ถึง 1914 บาร์เซโลนาได้ร่วมลงแข่งในถ้วยพิเรนีส ที่ประกอบด้วยทีมที่ดีที่สุดของ ล็องด็อก, มีดี, อากีแตน (ฝรั่งเศสใต้), บาสก์ และ กาตาลุญญา ในเวลานั้นถือเป็นการแข่งขันที่ดีที่สุดที่เปิดให้เข้าแข่งขัน ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น สโมสรได้เปลี่ยนภาษาอย่างเป็นทางการของสโมสรจากภาษาคาสติเลียนสเปน (Castilian Spanish) เป็นภาษาคาตาลัน และค่อย ๆ เพิ่มความสำคัญให้กับสัญลักษณ์ที่สำคัญของอัตลักษณ์คาตาลัน เพื่อให้แฟนที่สนับสนุนสโมสรแต่ไม่รู้ว่าจะทำอะไรระหว่างการแข่งขันและเพื่อ ให้เป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์กลุ่มของสโมสร

      กัมเปร์ได้รณรงค์หาสมาชิกสโมสรเพิ่ม และในปี ค.ศ. 1922 สโมสรมีสมาชิกมากกว่า 20,000 คนและมีฐานะการเงินเพียงพอที่จะสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่ สโมสรได้ย้ายไปเลสกอตส์ โดยเปิดสนามใหม่ในปีเดียวกันนี้[9] เดิมทีเลสกอตส์จุผู้ชมได้ 22,000 คน และต่อมาขยายเพิ่มเป็น 60,000 คน[10] แจ็ก กรีนเวลล์ เป็นผู้จัดการเต็มเวลาคนแรกของสโมสรและสโมสรได้เริ่มต้นพัฒนา ในช่วงระหว่างยุคของกัมเปร์ สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาชนะถ้วยกัมเปียนัตเดกาตาลัน 11 ครั้ง ถ้วยโกปาเดลเรย์ 6 ครั้ง และถ้วยพิเรนีส 4 ครั้ง ถือเป็นยุคทองยุคแรกของสโมสร




 


      สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา (คาตาลัน: Futbol Club Barcelona) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า บาร์เซโลนา หรือคุ้นเคยในอีกชื่อว่า บาร์ซา (คาตาลัน: Barça) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพสเปน ตั้งอยู่ที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน เล่นอยู่ในลาลีกา

     สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาเป็นผู้ชนะเลิศในถ้วยยุโรปและสเปนปัจจุบัน เป็นสโมสรสเปนที่ประสบความสำเร็จในฟุตบอลสเปน ในแง่ของจำนวนถ้วยรางวัลภายในประเทศและทุกถ้วย โดยชนะในการแข่งลาลีกา 22 ครั้ง ชนะในโกปาเดลเรย์ 25 ครั้ง ชนะในซูเปร์โกปาเดเอสปาญา 10 ครั้ง ชนะในโกปาเอบาดัวร์เต 3 ครั้ง และได้รางวัล โกปาเดลาลีกา 2 ถ้วย นอกจากนี้ยังเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จที่สุดในยุโรป โดยได้ชนะเลิศในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 4 ครั้ง, ชนะในยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ 4 ครั้ง ชนะในยูฟ่าซูเปอร์คัพ 4 ครั้ง และชนะฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ 1 ครั้ง พวกเขายังถือสถิติชนะในอินเตอร์-ซิตีส์แฟร์สคัป 3 ครั้ง ถ้วยต้นแบบของยูฟ่าคัพ



      นอกจากนั้นยังเป็นสโมสรยุโรปสโมสรเดียวที่แข่งในฟุตบอลระหว่างทวีปในทุก ฤดูกาลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1955 และเป็น 1 ใน 3 สโมสรที่ไม่เคยตกชั้นในลาลีกา ร่วมกับทีมแอทเลติกบิลบาโอและเรอัลมาดริด ในปี ค.ศ. 2009 เป็นสโมสรสเปนสโมสรแรกที่ได้ถือครองแชมป์ 3 รางวัล คือ ลาลีกา, โกปาเดลเรย์ และแชมเปียนส์ลีก และในปีเดียวกันนี้ยังเป็นสโมสรฟุตบอลสโมสรแรกที่ชนะในการแข่งขัน 6 รางวัลในปีเดียวกัน เพิ่มอีก 3 ถ้วยคือ ซูเปร์โกปาเดเอสปาญา, ยูฟ่าซูเปอร์คัพ และฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ
ก่อตั้งในชื่อ ฟุตบอลคลับบาร์เซโลนา ใน ค.ศ. 1899 โดยกลุ่มของนักฟุตบอลสวิส อังกฤษ และ สเปน นำโดย ชูอัง กัมเปร์ สโมสรถือเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมคาตาลันและนิยมคาตาลัน โดยมีคำขวัญทางการว่า "Més que un club" (แปลว่า มากกว่าสโมสร) ส่วนเพลงประจำสโมสรคือเพลง "กันเดลบาร์ซา" เขียนโดย เคาเม ปีกัส และ ชูเซบ มารีอา เอสปีนัส และที่แตกต่างจากสโมสรอื่นคือ ผู้สนับสนุนทีมเป็นเจ้าของและบริหารทีมบาร์เซโลนา ถือเป็นสโมสรฟุตบอลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกเป็นอันดับ 2 ในด้านของรายได้ ที่มีรายได้ประจำปี 398 ล้านยูโร[2] สโมสรยังเป็นคู่ปรับอันยาวนานกับเรอัลมาดริดและนัดการแข่งขันระหว่างสองทีมนี้เรียกว่า "เอลกลาซีโก"

ผู้สนับสนุน

      ฉายาของผู้สนับสนุนบาร์เซโลนา คือ culer มาจากภาษาคาตาลันคำว่า cul (อังกฤษ: arse; ก้น) โดยในสนามกีฬาแห่งแรก กัมเดลาอินดุสเตรีย มีเขียนคำว่า culs ไปทั่วที่นั่ง ด้านความนิยมในประเทศสเปน ความนิยมในทีมบาเซโลนาอยู่ที่ 25% เป็นรองทีมเรอัลมาดริดซึ่งมี 32% ส่วนอันดับ 3 คือทีมบาเลนเซีย และในยุโรปถือเป็นสโมสรที่เป็นที่ชื่นชอบอันดับ 2  จำนวนสมาชิกของสโมสรเพิ่มขึ้นจาก 100,000 ในฤดูกาล 2003–04 ไปเป็น 170,000 ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2009 ความนิยมที่เพิ่มขึ้นมาจากนักฟุตบอล รอนัลดีนโย และยุทธวิธีด้านสื่อของประธานสโมสร ชูอัน ลาปอร์ตา ที่มุ่งไปด้านสื่อออนไลน์สเปนและอังกฤษ 

 

นอกจากนั้น จากข้อมูลเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2010 สโมสรมีสมาชิกลงทะเบียนอย่างเป็นทางการ 1,335 คน จากทั่วโลก โดยเรียกว่า เปนเยส แฟนของสโมสรที่ช่วยประชาสัมพันธ์สโมสรในท้องถิ่นของตนเองจะได้รับสิทธิในการ เยี่ยมชมเมื่อมายังบาร์เซโลนา[71] ส่วนผู้สนับสนุนที่มีชื่อเสียง เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ที่เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ และนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของสเปน โคเซ ซาปาเตโร

เอลกลาซีโก

      มักจะเกิดความดุเดือดในเกมการแข่งขันระหว่างทีมที่แข็งแกร่งที่สุดของประเทศนี้ โดยเฉพาะใน ลาลีกา โดยเกมการแข่งขันระหว่างบาร์ซาและเรอัลมาดริด เรียกว่า เอลกลาซีโก (สเปน: El Clásico) ตั้งแต่เริ่มมีการแข่งขันระดับประเทศ ทั้ง 2 สโมสรเหมือนเป็นตัวแทนของคู่แข่งกันทั้ง 2 ภูมิภาคของสเปน คือ กาตาลุญญาและแคสตีล รวมถึง 2 เมืองด้วย การแข่งขันยังสะท้อนให้เห็นว่าเกี่ยวข้องกับการเมืองและความตึงเครียดของ ทั้ง 2 วัฒนธรรม สามารถเห็นได้จากการออกกฎหมายในช่วงสงครามกลางเมืองสเปน
 


      ในช่วงการปกครองแบบเผด็จการของ ปรีโม เด รีเบรา โดยเฉพาะจอมพลฟรันซิสโก ฟรังโก (ค.ศ. 1939–1975) วัฒนธรรมย่อยทั้งหมดถูกปราบปราม ภาษาที่ใช้ในดินแดนสเปนทั้งหมดต้องใช้ภาษาสเปน (ภาษาสเปนแคสตีล) ภาษาอื่นถูกห้ามใช้อย่างเป็นทางการ บาร์เซโลนาเป็นเหมือนเครื่องหมายแห่งความต้องการอิสรภาพของชาวคาตาลัน บาร์ซากลายเป็นอะไรที่ "มากกว่าสโมสร" (สเปน: Més que un club) นักเขียนชาวสเปน มานวยล์ บัซเกซ มอนตัลบัน กล่าวไว้ว่า หนทางที่ดีที่สุดที่ชาวคาตาลันจะพิสูจน์ให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของตัวเอง คือการมาร่วมกับทีมบาร์ซา เป็นการเสี่ยงน้อยกว่าที่จะร่วมกับกลุ่มต่อต้านจอมพลฟรังโกและพอจะอนุญาตให้ พวกเขาแสดงการเคลื่อนไหว

 

      ในทางกลับกัน เรอัลมาดริด แสดงให้เห็นถึงการเป็นศูนย์กลางอำนาจสูงสุดและระบอบการปกครองฟาสซิสต์ แต่อย่างไรก็ตามในระหว่างสงครามกลางเมืองสเปน สมาชิกของทั้ง 2 สโมสร อย่างเช่น ชูเซบ ซุนยอล และ ราฟาเอล ซานเชซ เกร์รา ก็ต่างเจ็บปวดจากผู้สนับสนุนจอมพลฟรังโก
ในระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1950 บาร์เซโลนายิ่งแย่ลงไปเมื่อเกิดข้อพิพาทเรื่องการโยกย้ายทีมของ อัลเฟรโด ดี สเตฟาโน ที่สุดท้ายลงเอยกับทีมเรอัลมาดริด และต่อมาก็เป็นกุญแจสำคัญในชัยชนะของทีม ในคริสต์ทศวรรษ 1960 เรอัลมาดริดเข้าสู่รอบแพ้คัดออกในถ้วยยุโรป ทั้ง 2 ทีมเจอกัน 2 ครั้ง ส่วนการเจอกันในถ้วยยุโรปครั้งล่าสุดคือในปี ค.ศ. 2002 ที่สื่อสเปนขนานนามว่า "นัดฟุตบอลแห่งศตวรรษ" มีผู้ชมมากกว่า 500 ล้านคน

สนาม คัมป์ นู

     เริ่มแรกบาร์เซโลนาเล่นที่สนามกัมเดลาอินดุสเตรีย มีความจุราว 10,000 คนและสโมสรเห็นว่าสิ่งอำนวยความสะดวกยังไม่ดีพอกับสมาชิกที่เพิ่มขึ้น

       ในปี ค.ศ. 1922 ผู้สนับสนุนสโมสรมีเพิ่มขึ้นมากกว่า 20,000 คน และสนับสนุนเงินให้กับสโมสร ทำให้บาร์ซาสามารถที่จะสร้างสนามที่ใหญ่กว่า โดยสร้างสนามกัมเดเลสกอตส์ ที่มีความจุ 20,000 คน หลังจากสงครามกลางเมืองสเปน สโมสรเริ่มมีสมาชิกมากขึ้นและมีผู้เข้าชมการแข่งขันเป็นจำนวนมาก ทำให้มีการขยับขยายสนาม โดยขยายอัฒจันทร์ใหญ่ ในปี ค.ศ. 1946 ขยายอัฒจันทร์ฝั่งทิศใต้ในปี ค.ศ. 1946 และสุดท้ายขยายอัฒจันทร์ฝั่งทิศเหนือในปี ค.ศ. 1950 หลังการขยับขยายครั้งสุดท้าย สนามเลสกอตส์สามารถจุคนได้ 60,000 คน
    



       หลังจากต่อเติมเสร็จ สนามเลสกอตส์ก็ไม่สามารถขยับขยายห้องได้เพิ่มขึ้นอีก และจากความสำเร็จในการเป็นผู้ชนะเลิศในลาลีกาติดต่อกันในปี ค.ศ. 1948 และ 1949 รวมถึงได้เซ็นสัญญากับนักฟุตบอล ลัสโซล คูบาลา ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1950 ที่ต่อมาเขายิงประตูให้กับสโมสร 196 ประตูใน 256 นัด ก็ยิ่งทำให้มีฝูงชนเข้ามาดูการแข่งขันมากขึ้น สโมสรจึงเริ่มวางแผนการสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่ สนามกัมนอว์เริ่มก่อสร้างวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1954 วางศิลาฤกษ์ก้อนแรกโดยผู้ว่า เฟลีเป อาเซโด โกลังกา ที่ทำพิธีโดยอาร์ชบิชอปแห่งบาร์เซโลนา เกรโกเรียว โมเดรโก โดยใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1957 ด้วยค่าก่อสร้างทั้งหมด 288 ล้านเปเซตา เกินงบประมาณ 336%





      ในปี ค.ศ. 1980 มีการออกแบบสนามกีฬาใหม่ให้เข้ากับเกณฑ์พิจารณาของยูฟ่า สโมสรได้หาเงินจากผู้สนับสนุน โดยจะสลักชื่อบนหินด้วยจำนวนเงินเล็กน้อย แนวคิดนี้ได้รับการตอบรับจากผู้สนับสนุน โดยมีคนหลายพันคนร่วมสนับสนุน แต่ต่อมากลายเป็นข้อพิพาทเมื่อสื่อในมาดริด ยกประเด็นนี้เมื่อมีหินก้อนหนึ่งที่สลักชื่อ ประธานของเรอัลมาดริด และผู้สนับสนุนจอมพลฟรังโก ชื่อ ซานเตียโก เบร์นาเบว เยสเต ต่อมาในการเตรียมงานสำหรับกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1992 ได้มีการติดที่นั่ง 2 แถว เหนือแนวหลังคาเดิม ปัจจุบันสนามจุคนได้ 99,354 คน เป็นสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป


เกียรติประวัติ

สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จในฟุตบอลสเปน ในแง่ของจำนวนถ้วยรางวัลภายในประเทศและทุกถ้วย โดยชนะในการแข่งลาลีกา 21 ครั้ง ชนะในโกปาเดลเรย์ 25 ครั้ง ชนะในซูเปร์โกปาเดเอสปาญา 10 ครั้ง ชนะในโกปาเอบาดัวร์เต 3 ครั้ง และได้รางวัล โกปาเดลาลีกา 2 ถ้วยและยังเป็นผู้ถือครองทั้ง 4 ถ้วยในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จที่สุดในยุโรป โดยได้ชนะเลิศในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 4 ครั้ง, ชนะในยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ 4 ครั้ง ชนะในยูฟ่าซูเปอร์คัพ 4 ครั้ง และชนะฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ 1 ครั้ง พวกเขายังถือสถิติชนะในอินเตอร์-ซิตีส์แฟร์สคัป 3 ครั้ง ถ้วยต้นแบบของยูฟ่าคัพ
 


นอกจากนั้นยังเป็นสโมสรยุโรปสโมสรเดียวที่แข่งในฟุตบอลระหว่างทวีปในทุก ฤดูกาลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1955 และเป็น 1 ใน 3 สโมสรที่ไม่เคยตกชั้นในลาลีกา ร่วมกับทีมแอทเลติกบิลบาโอและเรอัลมาดริด ในปี ค.ศ. 2009 เป็นสโมสรสเปนสโมสรแรกที่ได้ถือครองแชมป์ 3 รางวัล คือ ลาลีกา, โกปาเดลเรย์ และแชมเปียนส์ลีก และในปีเดียวกันนี้ยังเป็นสโมสรฟุตบอลสโมสรแรกที่ชนะในการแข่งขัน 6 รางวัลในปีเดียวกัน เพิ่มอีก 3 ถ้วยคือ ซูเปร์โกปาเดเอสปาญา, ยูฟ่าซูเปอร์คัพ และ ฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ